%PDF-0-1
แนะนำภาควิชาในคณะ - Faculty of Engineering, KMUTNB
✆ 02-555-2000 ext 8110, 8114, 8147 ✉ pr@eng.kmutnb.ac.th
✆ 02-555-2000 ext 8110, 8114, 8147 ✉ pr@eng.kmutnb.ac.th

แนะนำภาควิชาในคณะ

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ

(Department of Mechanical and Aerospace Engineering) เป็นส่วนหนึ่งของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ปัจจุบันเปิดการเรียนการสอนในระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโท ในสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมการบิน-อวกาศ และระดับปริญญาเอกในสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล โดยแต่ละหลักสูตรจะมีจุดเด่นแตกต่างกันไป
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์

ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์

ที่รู้จักในนาม ECE (Electrical and Computer Engineering) เป็นส่วนหนึ่งของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ปัจจุบันเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์มุ่งเน้นการผลิตบุคลากรทางวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกำลังสำคัญในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ ผ่านการทำวิจัยและพัฒนาความรู้ทางวิศวกรรมไฟฟ้าและความรู้ทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม เพื่อให้ผลงานวิจัยได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมและสังคมอย่างแท้จริง รวมทั้งรองรับการเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) ที่เป็นการบูรณาการโลกของการผลิตเข้ากับการเชื่อมต่อทางเครือข่ายในรูปแบบอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง (Internet of Things (IoT)) ซึ่งประกอบด้วยสองส่วนสำคัญ คือ ด้านฮาร์ดแวร์ ได้แก่ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเครื่องจักร ระบบอัตโนมัติและระบบควบคุมต่างๆ และอีกส่วนที่สำคัญ คือ ด้านซอฟต์แวร์ ที่จะประมวลข้อมูลและใช้ผลลัพธ์ในการควบคุมอัตโนมัติหรือช่วยในการตัดสินใจ
ภาควิชาวิศวกรรมการผลิตและหุ่นยนต์

ภาควิชาวิศวกรรมการผลิตและหุ่นยนต์

วิศวกรรมการผลิตและหุ่นยนต์ มจพ. เปิดสอนเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2527 โดยได้รับการสนับสนุนจากประเทศเยอรมนีในด้านหลักสูตร เครื่องมือ และบุคคลากร หลักสูตรวิศวกรรมการผลิตได้รับความช่วยเหลือส่วนหนึ่งในด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ ตำรา เอกสาร และทุนการศึกษา จากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยมุ่งเน้นสร้างบุคคลากรที่มีความรู้ในด้านกระบวนการผลิต เครื่องมือกล วัสดุ การวัด ระบบอัตโนมัติ และการวางแผนและจัดการกระบวนการผลิต
ปัจจุบัน ภาควิชาฯได้เปิดสอนในหลักสูตร วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต และ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (ภาษาอังกฤษ) และหลักสูตร วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ป.โท) และ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ป.เอก) ในสาขาวิศวกรรมการผลิต
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี

ภาควิชาวิศวกรรมเคมี

เป็นส่วนหนึ่งของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ปัจจุบันเปิดการเรียนการสอนทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์สาขาวิศวกรรมเคมี มีการจัดการเรียนการสอนแบบสหวิทยาการ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้ จะมีความเชี่ยวชาญและสมรรถนะ(Professional Competencies) ที่ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ที่ประกอบไปด้วย STEM Skills และ Innovative Skills ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมในปัจจุบัน นอกจากนี้แล้วบัณฑิตยุคใหม่จะต้องมีสมรรถนะในโลกสมัยใหม่ (General Competencies) ซึ่งประกอบไปด้วยทักษะสังคมและชีวิต (Social and Life Balance) มีความสามารถที่เป็นสากล (Global Talent) มีความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Mindset) มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Engagement)
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะที่ 7 โดยได้เริ่มรับนักศึกษา เป็นครั้งแรกในปี 2536 การจัดการศึกษาของภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการมีวัตถุประสงค์ที่จะผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถทั้งทางทฤษฎี และปฏิบัติ สามารถประยุกต์วิชาการเข้ากับปัญหาจริง สามารถทำการศึกษาค้นคว้าและวิจัย สามารถใช้เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และเครื่องจักรที่ทันสมัย เพื่อแก้ปัญหาในด้านการผลิต รวมทั้งสามารถพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อใช้ในงาน ที่เกี่ยวข้องและมีความซื่อสัตย์สุจริตในวิชาชีพและมีจรรยาบรรณในวิชาชีพวิศวกร หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นนี้จะเน้นการผลิตนักวิจัยทางวิศวกรรมอุตสาหการที่มีความพร้อมที่จะทำวิจัยในด้านวิศวกรรมอุตสาหการในเชิงสร้างสรรค์ และสามารถตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่กำลังก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 โดยนักวิจัยที่จบจากหลักสูตรนี้จะมีความเข้าใจในงานวิจัยในเชิงลึก สามารถนำหรือพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเข้ามาใช้ให้เป็นข้อได้เปรียบหรือเป็นเครื่องมือที่สร้างความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงการดูแลกำกับให้องค์กรสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในเชิงฐานข้อมูล การสื่อสาร และการคมนาคม รวมถึงมีพื้นฐานการเป็นวิศวกรที่มีคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพ
06.
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา

มีนโยบายมุ่งเน้นผลิตวิศวกรโยธาที่มีความรู้ความสามารถและมีคุณธรรมจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพโดยเป็นที่ยอมรับของภาคอุตสาหกรรม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ได้เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 ภายใต้ชื่อ ภาควิชาเทคโนโลยีโครงสร้าง จากนั้นในปี พ.ศ.2537 ได้เปิดการเรียนการสอนในหลักสูตร วศ.บ.วิศวกรรมโยธา และได้เปลี่ยนชื่อเป็น ภาควิชาวิศวกรรมโยธา โดยมีนโยบายมุ่งเน้นผลิตวิศวกรโยธาที่มีความรู้ความสามารถประกอบวิชาชีพทางวิศวกรรม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรม ด้วยศักยภาพและความพร้อมทางด้านบุคลากรและอุปกรณ์เครื่องมือในการเรียนการสอนและการทำวิจัยของภาควิชาฯ ในปี พ.ศ.2544ภาควิชาฯ ได้จัดให้มีการเรียนการสอนในระดับปริญญาโท และเริ่มมีการเรียนการสอนในระดับปริญญาเอกในปี พ.ศ. 2552 ปัจจุบันภาควิชาฯ มีคณาจารย์ประจำที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ ทางวิศวกรรมโยธา ทั้งสิ้น 19 คน
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องมือวัดและอิเล็กทรอนิกส์

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องมือวัดและอิเล็กทรอนิกส์

ก่อตั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 ปัจจุบันเปิดสอนในระดับปริญญาตรีจำนวน 4 หลักสูตร คือ (1) สาขาวิชาวิศวกรรมระบบเครื่องวัด หลักสูตรเทียบโอน 3 ปี เปิดสอนที่กรุงเทพฯ รับ นศ. ระดับ ปวส (2)สาขาวิชาวิศวกรรมระบบเครื่องวัดหลักสูตร 4 ปี เปิดสอนที่วิทยาเขตปราจีนบุรี รับ นศ. ระดับ ปวช. และ ม.6 (3) สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหกรรมและพลังงาน เป็นหลักสูตร 4 ปี นศ. ระดับ ปวช. และ (4) ระดับปริญญาโท หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอัตโนมัติ โดยแต่ละหลักสูตรเน้นการพัฒนาการเรียนรู้และทักษะการปฏิบัติงานตามสาขาที่เรียนเพื่อใช้ประกอบอาชีพด้านวิศวกรรมเฉพาะทางอย่างมืออาชีพ
ภาควิชาวิศวกรรมขนถ่ายวัสดุและโลจิสติกส์

ภาควิชาวิศวกรรมขนถ่ายวัสดุและโลจิสติกส์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ และมีทักษะด้านวิศวกรรมขนถ่ายวัสดุและวิศวกรรมโลจิสติกส์ เพื่อนําไปประยุกต์และพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมขนถ่ายวัสดุ รวมทั้งการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เพื่อการแข่งขันกับต่างประเทศอันส่งผลต่อความเจริญทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย
ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและเทคโนโลยีการผลิต

ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและเทคโนโลยีการผลิต

หรือที่ถูกเรียกย่อว่า MPTE เป็นภาควิชาหนึ่งของคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ถูกก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 ซึ่งในปัจจุบันได้เปิดทำการเรียนการสอนจำนวน 4 หลักสูตรประกอบด้วย ระดับปริญญาตรี 2 หลักสูตรและระดับบัณฑิตศึกษา 2 หลักสูตร ทั้งนี้การเรียนการสอนในภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและเทคโนโลยีการผลิตจะเน้นการฝึกทักษะทางความคิดและทักษะทางการปฏิบัติ โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้หลักวิชาวิศวกรรมวัสดุทั้งทางทฤษฏีและปฏิบัติที่สอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในภาคอุตสาหกรรม นักศึกษาจะได้รับการฝึกฝนทักษะการสังเกต การตั้งคำถามและการวิเคราะห์ไปพร้อมกับการปฏิบัติจริง ก่อนที่จะนำความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่ได้รับการฝึกฝนมานั้นไปฝึกงานและทำงาน นอกจากนั้นยังมีการเพิ่มประสบการณ์และวิสัยทัศน์ด้วยการเยี่ยมชมโรงงานอุตสาหกรรม ก่อนที่จะกลายเป็นวิศวกรวัสดุที่มีความพร้อมในการพัฒนาประเทศต่อไป